วัยรุ่นติดโซเชียล

วัยรุ่นติดโซเชียล

วัยรุ่นติดโซเชียล

1. วัยรุ่นติดโซเชียลมีเดียที่ชอบทำตัวเป็นจุดสนใจในสื่อออนไลน์ และต้องติดตาม Feedback ตลอด มีสาเหตุเกิดจากอะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

กลุ่มคนติดโซเชียลมากๆ ต้องการยอมรับจากโลกออนไลน์มากๆ เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองที่พอใจก็เกิดความทุกข์นั้นอาขเข้าข่ายเป็น โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค และ โรคโมโนโฟเบีย ที่คุ้นหูกันมากขึ้น ซึ่งแปลตรงๆ ความหมายก็คือ โรคที่ขาดมือถือไม่ได้ จัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง อาการที่พบก็อย่างเช่น ถ้าหากเราอยู่ในที่ปราศจากสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ก็รู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวาย ซึ่งในบางคนที่มีอาการมากๆ อาจถึงขั้นมีอาการเครียดได้เลย

สาเหตุของการติดโซเชียลมีเดีย ประกอบด้วยปัจจัยนำ ได้แก่

  • การเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้า / สมาธิสั้น
  • สังคม ได้แก่ วัฒนธรรมสังคมก้มหน้า การติดต่อกับกลุ่มเพื่อนผ่านโซเชียลมีเดีย
  • สื่อ ได้แก่ การตลาดที่ผลิตสื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม

ปัจจัยเปลี่ยนแปลงทางสมอง บริเวณสมองส่วนกลางที่กระตุ้นความสุข หากมากเกินพอดีก็เกิดอาการเสพติดคล้ายกับการติดสารเสพติด

ความแตกต่างระหว่างติดโซเชียลกับติดสารเสพติด คือ การติดโซเชียลมีเดียเป็นการเสพติดเชิงพฤติกรรม ต่างจากการติดสารเสพติดตรงตัวกระตุ้น ซึ่งทั้งการติดสารและติดโซเชียลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมองระดับเซลล์สมองและฮอร์โมนแต่การติดโซเชียลไม่มี่อาการแสดงทางร่างกายเหมือนการถอนสารเสพติด


2. เป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ ส่งผลให้ซึมเศร้าได้หรือไม่

การใช้โซเชียลที่มากเกินไป เข้าข่าย ปัญหาพฤติกรรมเสพติด รูปแบบหนึ่ง ที่อาจส่งผลกระทบในชีวิตประจำวัน เช่น ประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง ผลการเรียนลดลง การเข้าสังคมและการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแบบ Face to Face ลดลงเรื่อยๆ อาจจะนำไปสู่โรคทางจิตเวชต่อไปในอนาคตก็เป็นได้

ในปัจจุบันในวงการจิตเวชได้บรรจุการติดโซเชียลถือเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งในการวินิจฉัยโรคตาม ICD 11 คือ Internet Use Disorder ประกอบด้วย

  • Harmful internet use
  • Internet addiction
  • Internet gaming disorder

ประเภทของการติดโซเชียลมีเดีย แบ่งเป็น 3 แบบ คือ

  • ติดสาระ ได้แก่ ติดเกม ติดพนัน
  • ติดสัมพันธ์ ได้แก่ ติดเฟสบุ๊ค เป็นต้น
  • ติดอุปกรณ์ ได้แก่ ติดรุ่นของสมาร์ทโฟน

ปัญหาติดโซเชียลมีเดียมักเป็นปัยหาพฤติกรรมที่เกิดร่วมกันกับโรคทางจิตเวช อาทิ โดรคสมาธิสั้น โรควิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรคซึมเศร้า เป็นต้น


3. แนวทางป้องกัน แก้ไข/การดูแล ให้ความช่วยเหลือ

  • มีสติในการโพสท์ เพราะสื่งที่โพสท์มันก็นำพาผลเสียอื่นๆ ตามมาได้ ซึ่งก็คล้ายกับ การที่เราทิ้งรอยเท้าเอาไว้ให้คนคอยตามสืบหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Digital Foot Print คือ ถ้าเป็นรอยเท้าที่ดีก็คงไม่มีปัญหาหรือผลกระทบอะไรแต่ถ้าเราทิ้งรอยเท้าที่ไม่ดีเราก็จะต้องตามแก้ไขปัญหาแบบไม่จบสิ้น ทางที่ดีที่สุดคือ Cyber Safety ปลอดภัยไว้ก่อนและคิดก่อนโพสท์เสมอ
  • จัดแบ่งเวลาให้เหมาะสมในการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย มิเช่นนั้นคุณจะกลายเป็นคนติดโซเชียลมีเดีย มีข้อมูลวิทยานิพนธ์ นิสิตปริญญาโท คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษานักเรียน 6 แห่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 348 คน โดยใช้แบบทดสอบ การติดสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า เด็กมัธยม 1 ใน 3 อยู่ในขั้นติดโซเชียลมีเดีย ในกลุ่มที่ติดโซเชียลมีความสัมพันธ์กับการใช้เวลาคุณภาพครอบครัวที่ต่ำ และผลการเรียนที่ต่ำลง
  • หากสงสัยว่าติดโซเชียล ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ในกรณีติดโซเชียลอย่างหนักผู้ป่วยจะมีอาการสับสนเรื่องเวลาในมีเดียกับโลกความจริง การรักษาจึงจัดโปรแกรมการบำบัดในการช่วยปรับนาฬิกาชีวิตให้ผู้ป่วย
  • แบบวินิจฉัยการติดต่อสื่อสำหรับวัยรุ่น ประกอบด้วยข้อคำถาม 8 ข้อ ได้แก่  1)หมกมุ่น 2)เสียเวลา 3)พยายามหยุด 4)อารมณ์เสียเมื่อหยุดหรือถูกห้าม 5)ไม่มีเวลาทำสื่งอื่น 6)เสียสัมพันธ์ 7)โกหก 8)ใช้เพื่อบรรเทาทุกข์

ที่มา : พญ มธุรดา สุวรรณโพธิ์  ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์