การวินิจฉัยโรคที่เข้าเกณฑ์การออกบัตรผู้พิการด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

1. ความพิการทางจิต หมายถึง ความบกพร่องทางจิตใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆและมีความจําเป็นเป็นพิเศษที่ต้องได้รับการช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใดเพื่อให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป

2. ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disability)

3. ความพิการทางการเรียนรู้ Specific Learning Disorder (SLD)    

4. ความพิการทางออทิสติก Autism spectrum disorder

เอกสารที่ต้องนำมาเมื่อรับบริการที่สถาบันโดยใช้สิทธิคนพิการ

บัตรประจำตัวคนพิการ

คนพิการที่มีสิทธิได้รับบริการในระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า เฉพาะสำหรับคนพิการ จะต้องลงทะเบียนสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยระบุสิทธิประเภทคนพิการ(ท74)ในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีข้อดี คนพิการที่ได้รับการลงทะเบียน ท 74 ในระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข ของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีใบส่งตัวจากสถานบริการหลัก โดยสามารถยื่นบัตรประจำตัวผู้พิการเพื่อเข้ารับบริการได้ทันที โดยสามารถขึ้นทะเบียนได้ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้

- ต่างจังหวัดสามารถลงทะเบียนได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  (รพ.สต.) หรือที่คุ้นเคยในชื่อสถานีอนามัย ศูนย์บริการ สาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพ ชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 - 12

- กรุงเทพมหานคร สามารถลงทะเบียนได้ ณ สถานที่ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ปัจจุบันได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม. และโรงพยาบาลรัฐ  ในวันเวลาราชการ

***บัตรประจำตัวคนพิการมีอายุ 8 ปี นับตั้งแต่วันออกบัตร***

การทำบัตรประจำตัวคนพิการกับสิทธิที่พึงจะได้รับ รายละเอียด