8 วิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น

"หากพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าลูกหลานมีอาการเข้าข่ายเด็กสมาธิสั้น ให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการวิจัยอย่างละเอียด และสามารถรักษาได้ โดยการปรับสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู พยายามให้เด็กอยู่ในบรรยากาศที่สงบและมีระเบียบวินัย โรงเรียนก็มีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ปัญหา ครูต้องแสดงการยอมรับในความบกพร่องของเด็ก เอาใจใส่ดูแลเด็กมากขึ้น แยกจากกลุ่มเด็กซน รวมถึงให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายในโรงเรียนบ้าง เช่น ช่วยครูลบกระดาน ทำความสะอาดห้องเรียน และดูแลเรื่องการเรียนเป็นพิเศษ จึงจะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้นได้อีกทางหนึ่ง"

จิตแพทย์เด็กยังบอกอีกว่า ยารักษาที่ดีที่สุดคือ ความรักความใกล้ชิดจากครอบครัว จะทำให้เด็กสมาธิสั้นมีโอกาสคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น พร้อมทั้งให้ข้อคิดเด็ดๆ เป็นสุขบัญญัติ ประการ เกี่ยวกับวิธีการดูแลเด็กสมาธิสั้นให้อยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุขด้วย

บัญญัติที่ 1 อย่าเปิดทีวีเสียงดังจนเกินไป หรือสภาพแวดล้อมในบ้านต้องไม่วุ่นวายหรือมีการทะเลาะกันบ่อยครั้ง 

2.
หามุมสงบสำหรับเด็ก เพื่อให้เกิดสมาธิในการทำการบ้าน 

3.
ฝึกฝนวินัยให้เด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยปละละเลย หรือตามใจจนทำให้เด็กติดเกม 

4.
มีการสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน หากไม่แน่ใจให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่สั่งสอนไปคืออะไรบ้าง เพราะเด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยมีความอดทนในการฟัง 

5.
มีความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นอย่างจริงจังและเข้าใจ 

6.
จัดสภาพแวดล้อมให้เกิดความเป็นระเบียบ ไม่ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง 

7.
อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย และ 

8.
ไม่ควรจับกลุ่มให้เด็กสมาธิสั้นอยู่ใกล้ชิดกับเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะจะทำให้กลายเป็นเด็กเกเร ก้าวร้าวได้

 

หากวันนี้พ่อแม่ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางอารมณ์และจิตใจของเด็กแล้ว รวมถึงโรงเรียนเองก็อยากจะให้มีการสอดส่องเด็กที่มีปัญหาเฉพาะทางและร่วมมือกันแก้ไขกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด ตลอดจนภาครัฐเองก็ควรเข้มงวดกับสื่อต่างๆ ที่จะสามารถเข้าถึงเด็กได้ ซึ่งถือเป็นภัยใกล้ตัว ติดรั้วบ้านเลยทีเดียวหากไม่เฝ้าระวังให้ดี

 

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/ADHD/2007/08/11/entry-3