ลูกทะเลาะกัน กับ วิธีจัดการปัญหาเมื่อลูกทะเลาะกัน

ลูกทะเลาะกัน บ้านที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน มักเจอปัญหาลูกๆทะเลาะกัน เช่น งอนกัน โกรธเคือง มีปากมีเสียงกัน หรือมากกว่านั้นคือลงมือตีกันและใช้คำหยาบคายต่อกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจไม่น้อยเลยที่เดียว วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับดีๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงดูลูกที่ไม่เพียงช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและฝึกฝนให้ลูกรู้วิธีในการจัดการตัวเองเมื่อเจอกับปัญหาความขัดแย้ง แต่ยังช่วยให้คุณไม่ต้องทนกับการทะเลาะหรือโต้เถียงกันเองของลูก ๆ ได้อีกด้วย


1. ตั้งกฎ “ไม่ทะเลาะกัน”

ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุด และคุณสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงลูกได้โดยการตั้งกฎพื้นฐานสำหรับการประพฤติตัวของลูก คุณรู้จักกฎ “ปฏิบัติต่อคนอื่นเช่นเดียวกับที่คุณอยากให้คนอื่นปฏิบัติต่อคุณ” หรือไม่ คุณสามารถที่จะตั้งกฎของคุณที่คล้ายกับกฎต่าง ๆ

2. ให้ความสนใจพวกเขา (ไม่ใช่ในขณะที่พวกเขากำลังทะเลาะกัน)

เด็กที่รู้สึกถึงความรัก การดูแล และความเอาใจใส่ที่เพียงพอจากพ่อแม่นั้นมักจะทะเลาะกันน้อยกว่า ไม่ว่าจะอยู่ในรถหรืออยู่ที่บ้าน คุณก็ควรให้ความสนใจพวกเขาอยู่เสมอ ก็อย่างที่รู้กันว่าเด็กทะเลาะกันเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณ (ถึงแม้ว่าคุณอาจไม่ให้พวกเขา) หากคุณมีลูกมากกว่าหนึ่งคน คุณควรเป็นหนึ่งใน “แก๊งค์” ของพวกเขา และแบ่งเวลาเพื่อเล่นเป็นเพื่อนลูกโดยไม่ได้ทำตัวเป็นพ่อหรือแม่สักพัก และมันอาจจะดีกว่าด้วยหากคุณสามารถที่จะให้เวลาและความใส่ใจกับลูกแต่ละคน บอกรักเขาเสมอ กอดเขาให้มากเท่าที่คุณมีโอกาส

3. สอนให้ลูกสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

จงจำไว้ว่าความขัดแย้งเกิดขึ้นจากขาดการสื่อสารที่เหมาะสม หรือขาดการสื่อสารกัน การสื่อสารกันได้อย่างเหมาะสมเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี แม้กระทั่งในหมู่เด็กด้วยกัน เขาจะแสดงความเป็นตัวเขาเอง เด็กสามารถโน้มน้าวและชักจูงพี่หรือน้องให้ออกจากสถานการณ์ความขัดแย้งได้ การที่เขาไม่สามารถแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้จะทำให้เขาเกิดความหงุดหงิดและทะเลาะกับคนอื่นได้

4. สอนให้เด็กรู้จักเห็นใจคนอื่น

การสอนนี้เป็นการสอนให้ลูกคุณมี “ความรู้สึก” เมื่อลูกพูดว่า “หนูเกลียดพี่” คุณควรอธิบายให้เขาฟังว่าการเกลียดนั้นแตกต่างจาก “ความโกรธ” คุณอาจบอกลูกว่า “ลูกไม่ได้เกลียดพี่หรอก ลูกรักพี่ แต่ลูกแค่โกรธพี่ที่เขาแย่งของเล่นลูกเท่านั้นเอง” นี่เป็นวิธีการแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจในความรู้สึกของลูกน้อย ลูกจะรู้สึกขอบคุณที่คุณเข้าใจว่าเขารู้สึกอย่างไร และนี่จะกลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความเห็นอกเห็นใจของลูกที่มีต่อคนอื่น 


คุณอาจอธิบายให้ลูกฟังว่าเด็กคนอื่นรู้สึกอย่างไร “แม่คิดว่าเขาคงรู้สึกแย่มากแน่ ๆ เลย เพราะเขาร้องไห้ด้วย มันคงจะดีถ้ามีใครปลอบใจเขา” และหากลูกคุณสามารถที่จะปลอบใจคนอื่นได้ นั่นแสดงว่าเขาสามารถหยุดคิดทบทวนได้เมื่อเขารู้สึกว่าอยากจะทำร้ายคนอื่น

5. อย่าเข้าไปยุ่ง

อย่าเข้าไปยุ่งการทะเลาะกันของพี่น้องเพื่อที่จะหยุดการทะเลาะเบาะแว้ง ให้พวกเขาจัดการต่อสู้กันเอง เพราะหากคุณยื่นมือเข้าไปยุ่งตลอดเวลา พวกเขาจะต่อสู้กันได้ตลอดเวลาเพราะพวกเขาจะคิดว่าคุณจะอยู่ที่นั่นด้วยเพื่อยุติการทะเลาะกัน พวกเขาจะไม่เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง นี่ฟังดูเหมือนยาก แต่ตราบเท่าที่ไม่มีความอันตรายทางด้านร่างกาย คุณอาจให้พวกเขาได้เรียนรู้ว่าการก่อเรื่องนั้นเป็นอย่างไร หลังจากนั้นคุณก็เตือนพวกเขาให้นึกถึงกฎพื้นฐานที่ไม่ให้มีการทะเลาะกันและบอกให้ลูกแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างด้วยตัวของพวกเขาเอง คุณสามารถตัดสินใจในภายหลังว่าควรมีการ “ลงโทษ” สำหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎหรือไม่ แต่ไม่ควรลงโทษก่อนที่พวกเขาจะมีการทะเลาะกัน 

6. ทำตัวเป็นตัวอย่าง

หากคุณสร้างกฎการ “ไม่ทะเลาะกัน” แต่เด็กเห็นคุณทะเลาะกับสามีหรือภรรยาของคุณ คุณไม่เพียงแต่ไม่ได้ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง แต่คุณเองนั่นแหละที่แหกกฎ

7. สร้างความสุขและสนุกสนานในครอบครัว

หากคุณสามารถสร้างความสุขและทำให้ครอบครัวสนุกสนานอยู่เสมอ สิ่งอื่น ๆ จะตามมา ลูก ๆ จะไม่ทะเลาะกัน และทุกคนก็จะรักกันมากขึ้น


ที่มา : https://th.theasianparent.com/